วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7
วัน พฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม 2557


ได้เนื้อหาบางส่วนจาก Nettaya Nueangnoi,Laila Khonru


บทความวิทยาศาสตร์






1. สอนเด็กเรียนวิทยาศาสตร์ เป็ดและไก่ (Duck and Chicken)โดยการเล่นนิทาน
 ส่งเสริมกระบวนการคิด เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. สอนลูกเรื่องปรากฎการธรรมชาติ (natural phenomena) มีแนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 5 ประการ(5 craig's Basic Concepts) 
3.จุดประกายเด็กสนุกคิดกับของเล่นวิทย์ จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำ
4. สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching children about weather) มีความสำคัญ และจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต

เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถามปลายเปิดเพิ่อกระตุ้นความคิดการตอบคำถาม
2. ได้ลงมือประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
3. ได้ความรู้เพิ่มเติมจากการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ
4. อธิบายการเขียน Mind map ที่ถูกต้อง

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย เข้าใจเนื้อหาที่เรียน มีการจดบันทึกการเรียน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์ เตรียมเนื้อให้การสอนมาดี อธิบายได้อย่างเข้าใจ







บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
 วัน พฤหัสบดี ที่่ 25 กันยายน 2557



กิจกรรมวันนี้ เฮลิคอปเตอร์กระดาษ

How to ?








อุปกรณ์ (Contraption)

1. กระดาษตัดเป็นสี่เหลียมผืนผ้า
2. คลิปหนีบกระดาษ (paper clip)

ขั้นตอนการทำ

1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งของกระดาษ
3.ตัดปลายกระดาษเข้าด้านใน จนครึ่งหนึ่งของครึ่งที่ตัดไว้
4. พับปลายกระดาษฝั่งตรงกันข้าม โดยพับเข้ามาเล็กน้อย
5. ติดคลิปหนีบกระดาษตรงส่วนปลายกระดาษที่พับเข้า
6. ตกแต่งให้สวยงาม

สิ่งที่ได้รับ

1. เรียนรู้เกี่ยวกับเเรงโน้มถ่วง
2. ได้รู้สื่อการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสอน
3. รู้จักสังเกตในการทำกิจกรรม


mind map เรื่องข้าว





                                       แก้ไข้ mind map เรื่องข้าว





เทคนิคการสอน

1.ใช้ทำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
2. หาสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเองได้โดยไม่เกิดอันตราย
3.ได้รู้จักการเขียนmind map ที่ถูกต้อง ในการวางแผนการสอน เพื่อความเข้าใจง่าย
4. มีการใช้เทคโนโลยีกระกอบการสอน

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง แต่งกายถูกระเบียบ บันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนจดบันทึกมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และช่วยเพื่อนทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ เข้าตรงสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ และมีการตั้งคำถาม ถามนักศึกษาในห้องเรียน









วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุป วีดีโอ (Reviewed Video)  เรื่อง ความลับของแสง

                          สรุป วีดีโอ (Reviewed Video) 
                            เรื่อง ความลับของแสง
        แสง  
     แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที  ถ้าเราวิ่งเล่นเท่าเเสงจะวิ่งถึงรอบโลกได้ตั้ง 7 รอบ ใน 1 วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสง เราก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้

     คุณสมบัติของแสง

     การทดลองที่ 1

     อุปกรณ์           1.กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง

                          2.อุปกรณ์ของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา

     วิธีการทดลอง     1. นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่องหนึ่งรู นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองเข้าไปที่รูที่เจาะ เราจะไม่สามารถมองเห็นตุ๊กตาที่เราใส่ไว้ เนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่องออก จะเห็นว่ามีอะไรในกล่อง จากนั้นเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง

          แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้

    การทดลองที่  2  

        อุปกรณ์             1. กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น

   วิธีการทดลอง       1.เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน

   การทดลองที่  3

  อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง

                      2.ภาพต้นแบบ

  วิธีการทดลอง     1.ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แต่ทำไมมันกลับหัวเเละลองหมุนภาพกลับหัวสิ  แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน


                       การสะท้อนของแสง

  การทดลองที่1

  อุปกรณ์           1.ไฟฉาย

                       2.กระจกเงา

  วิธีการทดลอง       1.วางกระจดลงไว้ที่พื้น แล้วฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้องกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้าม เสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมทะท้อนกลับ

  การทดลองที่ 2    เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป

  อุปกรณ์          1.กระจกเงา 3 บาน
               
                      2. ภาพ

  การทดลอง       1.นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพ


                         การหักเหของแสง

          คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง

      เช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห

   การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น

      การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ

   การทดลองที่ 1  นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ

   การทดลองที่ 2  หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ

    คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ

  เงา เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับเเสง

  การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวตถุมาขวางทางเดินของแสง






บทความ

                                    บทความ

  


วิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ?

        การศึกษาปฐมวัย คือ การวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิด และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดั้งนั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  จึงริเริ่มให้มีโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549    จนถึงวันนี้ ได้นำมาสู่การพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยขึ้น
       เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้จัดให้มีการเปิดตัวกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ปฐมวัยขึ้น ณโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานครโดยมีครูปฐมวัยจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 1,000  คน  
       หนึ่งในกิจกรรมคือ การจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง “วิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ” โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัยและการพัฒนาเด็ก ได้แก่ รศ.ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต นายแพทย์ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และ ดร.เขมสิริ ประภามนตรีพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประภามนตรี เข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้
       “คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ต้องมีโอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครองและทุกส่วนในสังคม”
        ด้านนายแพทย์ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานต์ ในฐานะจิตแพทย์ พูดถึงพัฒนาการทางสมองของเด็กในการเรียนรู้ วิทย์-คณิตว่า ปัจจุบันเราไม่สามารถแยกหน้าที่ของสมองซ้าย-ขวา ออกจากกันได้ และมีการค้นพบที่ต่างออกไปคือ สมองเด็กมีการพัฒนาจากด้านหลังไปด้านหน้า และกระบวนการทำงานของสมองจะมีการจัดระเบียบใยประสาท และเชื่อมใยประสาทซีกซ้าย-ขวา เข้าหากัน โดยเฉพาะในช่วง อายุ 3-5 ปี ทำให้เกิดความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เราจึงค้นพบว่าเด็กปฐมวัยสามารถเรียนภาษาพร้อมๆกันได้หลายภาษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ปฐมวัย และบูรณาการกิจกรรม ไม่ใช่การแยกกิจกรรม  เช่น การใช้ดนตรีในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้
       ส่วน อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข พูดถึงการเรียนรู้วิทย์-คณิตของเด็กในช่วงปฐมวัยว่า มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ เนื้อหาความรู้ ,กระบวนการ และเจตคติ ในช่วงเริ่มต้นเจตคติเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการเรียนอะไรด้วยความรักจะนำมาซึ่งความสุข จากนั้นควรมีกระบวนการที่สร้างให้เด็กเป็นนักวิทยาศาสตร์ รู้จักการสืบค้น แต่ปัญหาจากการทำวิจัยเด็กไทยทั่วประเทศ พบว่า ทางด้านสังคมนั้นเด็กไทยปรับตัวได้ดี แต่เรื่องสติปัญญา พื้นฐานด้านคณิต-วิทย์นั้นต้องแก้ไขปรับปรุง ซึ่งสาเหตุใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูในครอบครัวที่ไม่ได้ปลูกฝังให้ใช้เหตุผล โดยยกตัวอย่างว่า เมื่อเด็กหกล้ม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ยังใช้วิธีการกล่าวโทษว่าเป็นเพราะพื้นผิวไม่เรียบ แทนที่จะมองว่าเด็กขาดความระมัดระวัง เป็นต้น
      สุดท้าย นพ.ยงยุทธ์ ฝากข้อห่วงใยไปยังผู้ปกครองที่มีลูกในช่วงปฐมวัยว่า การใช้สื่อโทรทัศน์มากเกินไปทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาสมาธิได้ตามวัย และในระดับปฐมวัยไม่จำเป็นต้องให้ใช้สื่อ ICT จนกว่าจะขึ้นชั้นประถมศึกษา
             อนึ่ง สสวท.ได้มีการสร้างกรอบมาตรฐาน และคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยนำเสนอตัวอย่าง การบูรณาการกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และยังได้มีการจัดอบรมครู และวิทยากรแกนนำ เพื่อนำไปขยายผล ทั้งนี้ มีโรงเรียนทั่วประเทศจำนวนกว่าหนึ่งหมื่นแห่ง และครูปฐมวัยเข้าร่วมอบรมแล้วจำนวน 18,679  คน